วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2555

ความชุกชุมของธาลัสซีเมียในประเทศไทย


ตารางข้างล่างแสดงความชุกชุมของธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติที่พบบ่อยในประเทศไทย


ตารางที่ 1 ความชุกของธาสัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติในประเทศไทย


ประเภท
ร้อยละในประชากร
แอลฟ่า ธาลัสซีเมีย

เบต้า ธาลัสซีเมีย
ฮีโมโกลบิน อี

ฮีโมโกลบีนคอนสแตน สปริง
20% ในคนกรุงเทพฯ
30% ในคนเชียงใหม่
3-9%
13% โดยเฉลี่ย
50% อีสานใต้
1-8%
 
แอลฟ่า ธาลัสซีเมีย พบสูงมากในคนไทยภาคเหนือและลาว ที่เวียงจันทร์พบสูงถึง 40% ส่วนฮีโมโกลบิน อี นั้นพบสูงในคนเชื้อสายเขมร ตรงรอยต่อระหว่างไทย-ลาว-เขมร พบฮีโมโกลบินฮีสูงถึง 50-60% ในประชากร ส่วนในคนจีนแท้เกือบไม่พบฮีโมโกลบินอีเลย

     ในผู้ที่เป็นพาหะของยีน คือมียีนปกติเหล่านี้ตัวใดตัวหนึ่งจะไม่มีอาการผิดปกติ แต่จะถ่ายทอดยีนปกติให้หลานเรี่อยลงไป แต่ถ้าทั้งพ่อและแม่มียีนผิดปกติ ลูกบางคนจะได้ยีนผิดปกติตั้งแต่ 2 ยีนขึ้นไปซึ่งอาจทำให้เกิดโรคขึ้นได้ โรคธาลัสซีเมียจึงเกิดจากการมียีนผิดปกติบางชนิดอยู่พร้อมกันมากกว่าหนึ่ง ยีน

      โรคธาลัสซีเมียที่พบบ่อยในประเทศไทยมี 4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
      1. Hb Bart's hydrops fetalis
      2. Hb H disease
      3. Homozygous β-thalassemia
      4. β-thalassemia / Hb E disease

 
ตารางที่ 2 แสดงจำนวนผู้ป่วยธาลัสซีเมียแต่ละชนิดที่เกิดในแต่ละปีและจำนวนที่คาดว่ายังมีชีวิตอยู่ (ฮบ.อี = ฮีโมโกลบิน อี)


โรค
จำนวนคู่เสี่ยงต่อปี
จำนวนเด็กที่เกิดเป็นโรคต่อปี
จำนวนคนไข้ทั้งหมดที่ยังมีชีวิตอยู่
1. เบต้า ธาลัสซีเมีย
2. เบต้า ธาลัสซีเมีย/ฮบ. อี
3. ฮีโมโกลบินบาร์ทส
4.ฮีโมโกลบิน เอ็ซ
2,500
13,000
5,000
26,000
625
3,250
1,250
7,000
6,250
97,500
0
420,000
รวม
48,500
12,125
523,750

รวมผู้ป่วยธาลัสซีเมียทุกประเภทที่คาดว่ายังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันประมาณ 523,750 คน

วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2555

ธาลัสซีเมียคืออะไร ...



โรคเลือดจางธาลัสซีเมียเป็นโรคหนึ่งที่เกิดจากการที่ร่างกายมีหน่วยพันธุกรรมหรือยีนผิดปกติ สำหรับการสร้างส่วนของเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย โรคนี้เป็นได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย พ่อและแม่จะเป็นผู้ถ่ายทอดยีนผิดปกตินี้ไปยังลูกพบผู้ป่วยเป็นโรคนี้ได้ทั่วโลก ในประเทศไทย มีผู้ป่วยโรคเลือดจางธาลัสซีเมียประมาณร้อยละ 1 ของประชากรและพบผู้ที่ยีนแฝง(พาหะ) ประมาณร้อยละ 40 ของประชากร


Normal Blood smear
เม็ดเลือดแดงของคนปกติ
Thalassemia
เม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยธาลัสซีเมีย











ผู้ที่เป็นพาหะหรือมียีนแฝงธาลัสซีเมียเป็นอย่างไร
 ผู้ที่เป็นพาหะหรือผู้ที่มียีนแฝงของธาลัสซีเมียอยู่ในตัว จะเป็นบุคคลที่มีสุขภาพดีเหมือนคนทั่วไป แต่สามารถถ่ายทอดยีนผิดปกติไปยังลูกได้ ตามแบบแผนการถ่ายทอดของยีน

ทำอย่างไรเมื่อพบว่าคุณเป็นพาหะของโรค                                  
  
เมื่อคุณตรวจเลือดพบว่ามียีนแฝงธาลัสซีเมีย ก็ไม่ได้หมายความว่า คุณจะแต่งงานไม่ได้ ก่อนจะแต่งงานชวนคู่ของคุณไปตรวจเลือดหายีนธาลัสซีเมีย ปรึกษาและรับคำแนะนำจากแพทย์ เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสเสี่ยงที่จะมีลูกเป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย
แต่ถ้าคุณกำลังตั้งครรภ์และตรวจเลือดพบว่ามียีนธาลัสซีเมีย ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อแพทย์จะได้ตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ ก่อนคลอด เพื่อหลีกเลี่ยงการมีลูกเป็นเลือดจางธาลัสซีเมีย และวางแผนในการมีลูกคนต่อไป
เด็กที่เป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย จะมีอาการอย่างไร                    
 เด็กที่เป็นโรค
ผู้ป่วย Thalassemia
อาการผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย        
เลือดจ
เด็กที่เป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย จะมีอาการ ซีด ตาเหลือง ตัวเหลือง ตับโต ม้ามโต แคระแกรน หน้าตาอาจเปลี่ยนแปลง จมูกแบน ฟันบนยื่นและท้องป่อง ร่างกายเติบโตช้ากว่าปกติ กระดูกเปราะหักง่าย จะเจ็บป่วยบ่อยๆ ทำให้ขาดเรียนเป็นประจำ ทั้งยังเป็นภาระของครอบครัว เพราะจะต้องเสียเงินค่าดูแลรักษาพยาบาลไปอีกนาน เพราะโรคนี้รักษายาก

โรคเลือดจางธาลัสซีเมียแบ่งได้เป็นหลายชนิด 
  • ชนิดรุนแรงมาก ทำให้ทารกตายตั้งแต่อยู่ในครรภ์
  • ชนิดที่ทำให้ผู้ป่วยซีดมากต้องได้รับเลือดประจำ
  • บางชนิดแทบไม่มีอาการผิดปกติ เพียงซีดเล็กน้อย

างธาลัสซีเมีย จะมีอาการอย่างไร
เมื่อเป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย ควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร               

  แม้ว่าโรคนี้ยังรักษาให้หายขาดได้ยาก ผู้ที่เป็นโรคนี้ ไม่ควรตื่นตกใจ เพราะบางรายอาจมีอาการ ไม่รุนแรง การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง จะทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ได้ตามปกติ  ดังนั้นจึงควรปฏิบัติดังนี้
  • รับประทานผักสด ไข่ นม หรือ นมถั่วเหลืองมากๆ
  • ดื่มน้ำชาหลังอาหาร เพื่อลดการดูดซึมธาตุเหล็ก
  • ควรตรวจฟัน ทุก 6 เดือน เนื่องจากฟันผุง่าย
  • หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก หรือ การเล่น รุนแรง
  • งดดื่มสุรา หรือ ของมึนเมา
  • ถ้ามีอาการปวดท้องที่บริเวณชายโครงขวาอย่างรุนแรง มีไข้และตาขาวมีสีเหลืองมากขึ้น ควรไปพบแพทย์
  ผู้ป่วยโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย ห้าม! กินยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็ก 
ผู้
 ผู้ที่เป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมียมีโอกาสหายหรือไม่
ผู้ป่วยโรคนี้ที่ยังอายุน้อยและไม่มีโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง ตับม้ามไม่โตมาก ถ้ามีพี่หรือน้อง ที่มีเม็ดเลือดขาวที่เข้ากันได้ ก็อาจจะพิจารณาการปลูกถ่ายไขกระดูกทำให้หายจากโรคนี้ได้
บทความจาก ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต 1 กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข
โดย  พญ.นภาพรรณ วิริยะอุตสาหกุล  กุมารแพทย์